“ฉันควรเลือกนักกายภาพบำบัดอย่างไรที่ใช่สำหรับฉันที่สุด?”

มักเป็นคำถามที่พบได้ทั่วไป…

เมื่อไรก็ตามที่ผมได้รับคำถามนี้ ผมมักจะสงสัยว่านั่นอาจไม่ใช่คำถามที่พวกเขาต้องการจะถาม แต่ผมกลับคิดว่าจริงๆแล้วคำถามนั้น คือ

“การทำกายภาพบำบัดนั้นเหมาะกับคนอย่างฉันหรือเปล่า?” …

และเพื่อที่จะตอบคำถามพวกเขา ผมมักจะเล่าเรื่องราวซึ่งช่วยอธิบายว่ากายภาพบำบัดนั้นเหมาะสมกับใคร กายภาพบำบัดเป็นอย่างไรกันแน่ และแสดงให้เห็นวิธีที่คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพของคุณ เมื่อคุณได้ไปพบนักกายภาพบำบัด(ที่ดี)

เพราะอย่างนั้น ผมจึงมีเรื่องที่อยากบอกเล่าให้คุณฟัง

“ศิวา VS วิไล”

…นั่นเป็นแนวทางที่ผมคิดขึ้นเพื่อช่วยให้คนที่จะกลายมาเป็นลูกค้าในคลินิกกายภาพบำบัดของผมยืนยันได้ว่าพวกเขาตัดสินใจถูกต้องที่มาพบกับเรา และยังช่วยจำแนกคนสอง “ประเภท” ที่แตกต่างกันซึ่งมาเพื่อรับความช่วยเหลือจากนักกายภาพบำบัด มีบางสิ่งบางอย่างที่คุณควรได้รู้ก่อนจะอ่านบทความต่อไป นี่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับศิวาและวิไล พวกเขาเป็นลูกค้าที่ได้มาที่คลินิกกายภาพบำบัดของผม

ทั้งสองคนได้มาที่คลินิกกายภาพบำบัดของเราด้วยอาการ “ปวดหลัง” แต่มีเพียงหนึ่งคนที่ได้รับผลลัพธ์ที่ดีจากการทำกายภาพบำบัดตามที่เขาคาดหวัง— แม้ว่าจะได้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ ทักษะ และความรู้เหมือนๆกัน  ก่อนอื่นขอให้ผมได้เพิ่มเติมบางอย่างที่ช่วยให้คุณเข้าใจชัดเจนขึ้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ผิด” หรือ “ถูก” สำหรับคน “ทั้งสองประเภท” นี้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผมหมายความถึง

It’s just that one “type” of person is much more likely to get a positive outcome by choosing to see a Specialist ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะคน “ประเภทหนึ่ง” มีแนวโน้มจะได้รับผลลัพธ์เชิงบวกจากการพบนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญมากกว่าคนอีกประเภทหนึ่ง  และถ้าคุณกำลังมีความคิดที่จะไปพบนักกายภาพบำบัดสักคนแล้วล่ะก็ ผมอยากช่วยคุณโดยการแสดงให้คุณเห็นว่า “ทัศนคติ” แบบไหนที่คุณควรมีเพื่อให้ผลลัพธ์ด้านบวกและสุขภาพที่ดีมีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณมากขึ้น!

และอย่างที่คุณกำลังจะได้เห็นในไม่ช้านี้ “ผลลัพธ์” หรือก็คืออาการปวดหลังที่ดีขึ้นของแต่คน (หรือไม่เปลี่ยนไปเลยในอีกคน) เกิดจากสิ่งศิวาและวิไล “ให้คุณค่า” มากกว่าปัญหาที่พวกเขามีหรือว่านักกายภาพบำบัดมีฝีมือแค่ไหน

ศิวาและวิไล แม้ผมจะเปลี่ยนชื่อของพวกเขาสำหรับการเล่าเรื่องนี้ แต่พวกเขาก็เป็นตัวแทนของ “ผู้คนจริงๆ ที่มีเลือดและเนื้อ” นิสัยของพวกเขาเองก็มีอยู่จริงอย่างแน่นอนและมันคล้ายกันกับผู้คนอีกมากมายที่ผมเคยช่วยเหลือมาตลอดหลายปีในคลินิกของผม

เอาล่ะ มาเริ่มกันเลย ผมขอให้คุณสนุกกับการรับรู้เรื่องราวของแอนดี้ และค้นพบด้วยตัวคุณเองว่าทำไมเขาจึงไม่ได้รับผลลัพธ์อันควรที่เขาต้องการจากการไปพบนักกายภาพบำบัด

ส่วนที่ 1: นี่คือเรื่องราวของศิวา

ศิวามีอายุ 28 ปีและเขาอาศัยอยู่กับครอบครัว เขาเป็นคนสนุกสนาน มีเพื่อนกลุ่มใหญ่และการเข้าสังคมนั้นนับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเขา เขาทำงานในธุรกิจครอบครัวที่ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น และตัวเขาเองก็ทำมันได้อย่างดี ดังนั้นเขาจึงไม่เคยประสบปัญหาเรื่องเงินไม่เพียงพอ

เขาทำงานมากเสียจนกระทั่งตัวเขาแทบจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้เงินเท่าที่เขาหาได้ในแต่ละเดือนเท่าไร และเป็นเพราะว่าเขาอยู่ที่บ้านกับคุณพ่อคุณแม่ นั่นทำให้บ่อยครั้งเขามักจะมีเงินเหลือทุกๆสิ้นเดือน

ศิวาจึงไม่เคยต้องกังวลเกี่ยวกับการเงินของเขา และไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านนี้จากใคร เขาชอบที่จะซื้อเสื้อผ้าและดื่มสังสรรค์ที่ร้านอาหารกับเพื่อนๆในช่วงสุดสัปดาห์

จนถึงตอนนี้ นี่คือสาเหตุว่าทำไมเขาจึงต้องทำกายภาพบำบัด ย้อนไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ศิวาได้รับบาดเจ็บที่หลังของเขาขณะที่เล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ  เขาล้มลงไปที่พื้นด้วยท่าทางเก้กัง และหลังจากตอนนั้นเอง เขาเริ่มทรมานจากอาการปวดที่เป็นๆหายๆ ด้วยปัญหาเดิมๆที่มาจากหลังของเขา

ในตอนแรก เช่นเดียวกับที่หลายคนเลือกทำ เขาทำเพียงตั้งความหวังว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นจะหายได้เอง และแน่นอน เพราะว่าศิวายังหนุ่มนัก อาการมันหายไป!  แต่ก็แค่ชั่วระยะหนึ่ง 3 เดือนถัดมา เขากลับมาทุกข์ทรมานเพราะอาการนั้นอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้ ความเจ็บปวดมันต่างออกไป

มันกลายเป็นความปวดแบบต่อเนื่องและเกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาการปวดตื้อยาวนานที่ดูไม่มีทีท่าว่าจะหายไปเอง ยาแก้ปวดช่วยได้เสมอ และวันหยุดเป็นครั้งคราวก็ดูจะช่วยให้อาการของเขาดีขึ้น

อาการบาดเจ็บไม่ได้รุนแรงมากแต่ก็มากพอที่จะทำให้แม่ผู้เป็นกังวลของเขาเป็นห่วง แม่ของเขาให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเธอเองและครอบครัวเป็นอย่างมาก เธอรบเร้าให้เขาทำอะไรสักอย่างกับมันอยู่นานหลายสัปดาห์หลังอาการเจ็บปวดเริ่มต้นขึ้น

อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปอีก 6 เดือน และตอนนี้ศิวากลับมีอาการปวดเรื้อรัง แถมยังปวดเป็นอย่างมากด้วย! คุณแม่ของเขานัดหมายให้เขาไปพบกับแพทย์ของเธอ ทว่าศิวากลับไม่ได้ไปตามนัดเพราะอาการที่เขาเผชิญอยู่มันลดลงไป “ผลลัพธ์” ก็คือจะ “เสียเวลา” ไปหาหมอทำไมในเมื่ออาการบาดเจ็บนี้ดูจะดีขึ้นแล้วหลังจากผ่านไป 9 เดือน?

แต่อาการบาดเจ็บที่หลังของเขาก็กลับมาไม่นานหลังจากที่เขาพลาดหมายนัดในครั้งนั้น มันน่าอายเกินกว่าที่เขาจะโทรกลับไปและคุยกับแพทย์ซึ่งเขาได้ข้ามการนัดหมายไปเมื่อครั้งที่แล้ว เขารู้สึกไม่มีทางไป! แต่คุณแม่ของเขาได้แนะนำให้เขาไปพบกับนักกายภาพบำบัดที่เธอได้ยินมาว่าเก่งในด้านนี้ และเธอก็ได้ทำการโทรนัดหมายครั้งแรกให้แอนดี้ไป

แต่ศิวากลับลังเล และนั่นเกิดขึ้นเพียงเพราะเขาต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่ว่าเขาต้อง “จ่ายเงิน” เพื่อให้สุขภาพกลับมาแข็งแรงดีอีกครั้ง

ทั้งที่จริงแล้ว เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาสำหรับศิวา ทว่าการจ่ายเงินเพิ่มเติมไปกับสิ่งที่เขาไม่เห็นคุณค่าหรือก็คือสุขภาพของเขาเองต่างหากคือปัญหา แต่เขาจะให้ค่าสุขภาพของเขาไปทำไมล่ะ? เขาเพิ่งจะอยู่ในช่วงอายุยี่สิบ เพราะฉะนั้นปัญหาทั้งหลายยังอยู่อีกไกลใช่ไหม?

สุดท้าย นี่คือสิ่งที่เขามองเห็น และเพื่อนของเขา “ในวัยราวยี่สิบกว่าๆ” นั้นต่างมีความคิดเกี่ยวกับการที่เขาต้องจ่ายเงินไปกับสิ่งที่เรียกว่ากายภาพบำบัด? ไม่ใช่ว่ากายภาพบำบัดเป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อตอนเราอายุมากแล้วงั้นเหรอ?

แล้วเงินของเขาล่ะเอาไปทำอะไร?

ไม่ใช่ว่าตอนนี้คือช่วงเวลาที่คุณจะใช้เงินไปกับของดีๆ อย่างเสื้อผ้า การท่องเที่ยว อาหารแสนอร่อย และแอลกอล์ฮอลหรอกเหรอ อย่างไรก็ตาม ศิวามารับคำปรึกษาด้านการกายภาพบำบัดเป็นครั้งแรก (และมาสาย….) เขาตอบคำถามเล็กน้อยและประหลาดใจกับความกระจ่างที่ได้รับจากนักกายภาพบำบัดที่ให้ความช่วยเหลือแก่เขา

Iไม่ถึง 20 นาทีต่อมา เขาก็ได้รับการบอกกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหลังของเขา เขาได้รู้ว่าทำไมอาการบาดเจ็บของเขาถึงไม่หายไปเอง และเขายังได้รู้ว่าควรทำอย่างไรเพื่อที่จะกลับไปใช้ชีวิตที่ปราศจากความเจ็บปวดในแบบที่เขาต้องการได้

แม้ว่าคำแนะนำที่เยี่ยมยอดนี้จะถูกยื่นใส่มือเขา ศิวากลับไม่ชอบใจ เพราะข้อเสนอที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องหลังของเขาเกี่ยวข้องกับการเข้ารับการทำกายภาพบำบัดมากกว่าหนึ่งครั้ง

แต่เขาตกลงทำอย่างไม่เต็มใจ ด้วยรู้ว่าแม่ของเขาจะต้องไม่พอใจถ้าเขาปฏิเสธ ดังนั้นเขาจึงจัดการนัดหมายการรักษาที่นักกายภาพบำบัดแนะนำว่าจำเป็นกับการรักษาอาการบาดเจ็บที่หลังของเขา — เป็นเวลากว่า 9 เดือนแล้ว อาการบาดเจ็บนี้ไม่หายไปเองแน่!

ในตอนท้ายของการเข้ารับคำปรึกษาเบื้องต้นและก่อนที่เขาจะจากไป นักกายภาพบำบัดผู้ซึ่งให้ความช่วยเหลือศิวา ยังคงยืนยันกับแอนดี้ว่าเขามีแผนการที่ชัดเจนที่จะช่วยให้ศิวาได้รับผลลัพธ์ที่ดีตามที่ต้องการ

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับศิวาคือสิ่งนี้ เขาไม่ได้รับผลลัพธ์อันควรในแบบที่เขาคาดคิดไว้…

ไม่เลย หลังจากการนัดหมายครั้งแรก เขาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขาทำตามแผนการรักษา การนัดหมายครั้งต่อมาถูกยกเลิกในนาทีสุดท้าย รวมถึงการนัดหมายอีกครั้งหลังจากนั้น ศิวาล้มเหลวที่จะทำตามแผนการที่วางไว้อย่างสมบูรณ์

ไม่นานหลังจากนั้น เราได้ยินมาจากคุณแม่ของเขาว่าตัวเขานั้นพยายามกล่อมตัวเองว่าอาการของเขาจะดีขึ้นหากได้พัก แต่ในความเป็นจริง เธอได้บอกกับเราว่าปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้เขาไม่มาทำกายภาพบำบัดตามนัดเพียงเพราะเขาแค่ไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของเขามากพอที่เขาอยากจะจ่ายเงินเพื่อรักษามัน!

เธอบอกกับเราว่าศิวายังคงทรมานจากอาการบาดเจ็บที่หลังของเขา ในอีก 13 เดือนต่อมา เขาก็ยังคงดูดีในเสื้อผ้าชุดสวยและออกไปสนุกกับเพื่อนๆ ของเขาในช่วงสุดสัปดาห์ !

แต่การนอนหลับในยามค่ำคืนของเขาล่ะ? มันถูกรบกวนด้วยความเจ็บปวดที่หลังอยู่เสมอ ประสิทธิภาพการทำงานของเขาล่ะ? กลับมีอุปสรรค

เขาพลาดวันหลายวันเพราะอาการเจ็บปวดที่หลัง มีครั้งหนึ่งที่พลาดไปถึงสามวัน คืนท่องเที่ยวกับเพื่อนสนิทล่ะ? พลาดบ่อยยิ่งกว่า เพราะแอลกอล์ฮอลทำให้เกิดอาการชาต่อความเจ็บปวด การไปเล่นฟุตบอลหลังเลิกงานล่ะ? ต้องหยุดไปโดยสิ้นเชิง! เขาไม่สามารถเล่นฟุตบอลได้อีกเพราะการกระแทกพื้นแข็งๆ ของสนามกีฬาในร่มมันหนักหนาเกินกว่าที่สภาพหลังแย่ๆ ของเขาจะรับไหว 

วิธีแก้ปัญหาของเขางั้นเหรอ? ยาแก้ปวด มันกลายเป็นสิ่งช่วยชีวิตเขาในยามคับขันไปแล้ว

ส่วนที่ 2: นี่คือเรื่องราวของวิไล

วิไลอายุ 53 ปี เธอคอยดูแลครอบครัวและบ้านของเธอ สามีและลูกทั้งสองคนทำงานด้วยกันในบริษัทของครอบครัว  วิไลรู้ดีว่าเพื่อให้สามารถดูแลครอบครัวของเธอได้ อันดับแรกเธอจะต้องดูแลสุขภาพของตัวเธอเองก่อน

มันเป็นภาพสะท้อนตัวตนของเธอ และเธอเข้าใจดีว่าหากปราศจากสุขภาพที่ดีแล้ว เธอก็ไม่สามารถทำหลายสิ่งที่ทำให้เธอมีความสุขได้ เธอยอมรับความจริงที่ว่า “ไม่มีใครย้อนกลับไปเป็นหนุ่มสาวได้” และปัญหาใหญ่ของเธอตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยสี่สิบ คือ ตามคำของเธอ “เต็มไปด้วยอาการเจ็บเล็กเจ็บน้อยอยู่ตลอด” ซึ่งเธอไม่รู้ว่าทำไมมันเกิดขึ้นกับเธอหรือเธอจะเริ่มต้นจัดการกับมันอย่างไร

วิไลชอบไปเดินที่สวนเบญจกิติกับเพื่อนๆ ผู้รักสุขภาพเช่นเดียวกับเธอในช่วงเช้าตรู่ ในช่วงเวลานั้น เธอรู้สึกกระฉับกระเฉง และจะวิ่งเหยาะๆบ้างในบางครั้ง เช่นเดียวกับผู้คนมากมายในวัยสี่สิบ วิไลรู้สึกว่าการรักษาสภาพร่างกายของเธอเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีปัญหาใหญ่จนถึงตอนนี้ สิ่งที่เธอเผชิญอยู่นั้นใกล้เคียงกับ “ความไม่สะดวก” เสียมากกว่า และส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่เธอสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับมันได้

แต่มันก็มาถึงจุดที่เธอไม่แน่ใจว่าจากวันนี้ถึงวันรุ่งขึ้น ร่างกายเธอจะรู้สึกอย่างไร วันที่รู้สึกแย่เป็นพิเศษคือวันหลังจากที่เธอขยับตัวมากกว่าปกติตอนที่ออกไปเดินเล่น หรือแม้แต่แค่ออกไปช่วยงานในสวน แต่เพราะอาการ “เจ็บเล็กเจ็บน้อย” เหล่านี้ไม่เคยสร้างปัญหามาก่อนในตอนที่เธออายุน้อยกว่านี้ ในทีแรกเธอจึงสับสนและความสับสนนั้นหยุดไม่ให้เธอลงมือทำอะไรสักอย่างกับมัน

ทว่าในท้ายที่สุด ประเด็นไม่ได้อยู่ที่อะไร แต่เป็นเมื่อไรที่เธอจำเป็นต้องเริ่มตั้งคำถาม เพราะมันสำคัญมากสำหรับวิไลที่เธอต้องเป็นคนกระฉับกระเฉงและพร้อมขยับตัวอยู่เสมอ และเธอไม่อยากเสี่ยงเสียมันไปโดยการไม่ลงมือทำทุกวิถีทางที่เธอจะสามารถทำได้เพื่อป้องกันมัน วิไลมีลูกที่โตแล้วสองคนและหลานอีกสามคน ซึ่งเธอนั้นรักที่จะ “คอยตาม” และใช้เวลาด้วยกันในสวน เธอสนุกแม้แต่กับเรื่องพื้นๆ อย่างนั่งลงและเล่นกับพวกเขาบนพื้น (และถ้าเป็นไปได้ เธอชอบความคิดที่ว่า เธอสามารถลุกขึ้นยืนเองได้โดย ‘ไม่ต้อง’ให้ใครช่วย…)

ไม่มีทางที่เธอจะเสี่ยงสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปโดยไม่ทำทุกสิ่งที่เธอสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าเธอจะเป็นคนที่ลูกๆ ของเธอหันมาหาเมื่อพวกเขาต้องการ “พี่เลี้ยงเด็ก” หรือยังสามารถไปเดินเล่นกับเพื่อนๆ ที่สวนได้ ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา วิไลรู้สึกถึงอาการปวดและอาการติดขัดบริเวณหลังส่วนล่างมากกว่าครั้งไหนๆ แต่ความปวดไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เลย สิ่งที่ผลักดันให้เธอตัดสินใจตั้งคำถามคือความกลัวที่จะต้องสูญเสียวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงของเธอ และสูญเสียอิสรภาพของเธอไปพร้อมกัน เธอหวังจะรักษามันไว้ให้นานที่สุด

ถึงตอนนี้ วิไลได้ลองเข้าคลาสออกกำลังกายที่โรงยิมใกล้ๆ ด้วยหวังว่านี่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจาก “อายุ” ของเธอได้ (สิ่งที่คนรอบตัวบอกกับเธอเป็นสิ่งที่ทำให้เธอรู้สึกไม่สบายใจ) เธอทำแม้กระทั่งการสอบถามเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกอย่างโฮมิโอพาทธ์ ลองทำท่าออกกำลังกายต่างๆ ตามอินเตอร์เน็ต เธอได้ลองพัก และแน่นอน เธอยังได้พูดคุยกับแพทย์ของเธอเกี่ยวกับปัญหานี้มากกว่าหนึ่งครั้ง แต่จนตอนนี้ เขาก็ยังดูไม่ค่อยตั้งใจรักษาและไม่เสนอหนทางแก้ไขต้นเหตุของปัญหา และทำได้เพียงให้ยาที่ต่างกันออกไปในแต่ละครั้งที่เธอไปพบ

ตอนนี้ วิไลได้มาถึงจุดที่เธอกังวลเกี่ยวกับการพยายามรักษาวิถีชีวิตในฝันของเธอในฐานะคุณย่ายังสาวที่ยังคงกระฉับกระเฉง (ช่วงอายุห้าสิบต้นๆ)ในอีกสองสามปีข้างหน้าและในปีหลังจากนั้น เธอตระหนักว่าคำถามไม่ใช่ “ถ้าหาก” แต่เป็น “เมื่อไหร่” ที่เธอจะต้องหยุดพักกิจกรรมทั้งหมดเพราะอาการปวดหลังของเธอ — ดังนั้นเธอต้องเริ่มทำอะไรสักอย่างโดยเร็ว! วิไลคิดว่าตัวเธอเองเป็นคนที่ตระหนักในเรื่องสุขภาพอย่างมาก

มากกว่าคนส่วนใหญ่ที่เธอรู้จักเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เธอยังต้องการจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ทุกคนในครอบครัวของเธอ แสดงให้พวกเขาเห็นถึงความสำคัญของการดูแลรักษารางวัลที่มีค่าที่สุดในชีวิต “สุขภาพของคุณ!” เธอจะไม่ทนกับการเสียวันเวลาในชีวิตไปเปล่าๆจากอาการเจ็บปวด ถ้าเธอสามารถรักษามันได้ เธอเข้าใจดีว่าเวลามีค่าเกินกว่าที่จะทำเช่นนั้นและอย่างที่เธอพูด “ไม่มีใครย้อนกลับไปเป็นหนุ่มสาวได้” และไม่มีทางที่เธอจะยอมเสี่ยงกับการพึ่งพายาอะไรก็ตามที่แพทย์ของเธอพยายามเสนอให้ เห็นไหม วิไลไม่ใช่คนประเภทที่จะหลอกตัวเอง — การพึ่งพายาไม่ใช่ทางของเธอ เธอ “ยังแข็งแรง” และ “ยังสาว” เกินกว่าจะตกลงไปในหลุมกับดักนั้น

และเพราะเธอไม่ต้องการพึ่งยาแก้ปวด เธอจึงรู้ว่าการทำกายภาพบำบัดน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเธอ —และเธอจะรับการรักษาในขณะที่เธอยังมีอิสระและความสามารถที่จะทำหลายสิ่ง ไปหลายที่ ก่อนที่ความเจ็บปวดจะหนักหนาจนบังคับให้เธอต้องหยุด  วิไลวางแผนที่จะ “ยกระดับ” สุขภาพและวิถีชีวิต และเปลี่ยนความคิดจากการมองว่าการทำกายภาพบำบัดคือ “ค่าใช้จ่าย” เป็น “สินทรัพย์” — เป็นแหล่งคำแนะนำด้านสุขภาพน่าเชื่อถือชั้นเลิศซึ่งเธอสามารถมาพึ่งพิงเมื่อไหร่ก็ตามที่เธอต้องการผลักดันสุขภาพให้ไปในทางที่ถูกที่ควร หรือรับคำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เธอกังวล เห็นไหม ความเป็นห่วงและความกังวลด้านสุขภาพควรจะถูกนำออกมาแก้มากกว่าการเก็บไว้ในใจ เธอรู้ดีว่าความทรมานเพราะความกังวลใจนั้นหนักหนากว่าความเจ็บปวดทางกายภาพเสียอีก

ดังนั้น วิไลจึงต้องการไปพบนักกายภาพบำบัด จากนั้นเธอก็แค่ทำตามคำแนะนำที่เธอได้รับ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น เธออธิบายกับเราว่าปัญหาของเธอคืออาการติดขัดและความรู้สึกไม่สบายตัว (ไม่ค่อยปวดมากเท่าไหร่) และเธอกลัวว่าตัวเองจะเป็นอย่างไรในอนาคตหากปล่อยทิ้งไว้แทนที่จะรักษาโดยเร็ว พูดได้ว่าเธอป้องกันตัวเองจากสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แทนที่จะลงมือหลังจากมันเกิดขึ้นไปแล้ว เธอถามนักกายภาพบำบัดในสิ่งที่เธอกังวลและได้รับคำตอบทั้งหมดที่เธอต้องการจะได้ยิน

วิไลเข้าใจสิ่งที่นักกายภาพบำบัดบอกเธอตั้งแต่วันแรกว่าปัญหาที่หลังของเธอจะไม่มีทาง “รักษาหาย” อย่างสมบูรณ์เพราะธรรมชาติของมันและยอมรับว่ามันอาจจะเกิดขึ้นอีกภายในสองสามปีข้างหน้าถ้าเธอไม่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง (หรือต่อให้เธอทำก็ตาม) เห็นไหมว่าสิ่งที่สำคัญกับเธอจริงๆ คือเธอรู้สึกดีที่สุดในรอบหลายปีและต่อให้อาการปวดหลังย้อนกลับมาอีก เธอก็จะไม่เป็นไร เพราะเฉกเช่นเดียวกับอาการปวดฟันที่มาแล้วก็ไป เธอรู้ว่าเธอต้องไปพบใคร และปัญหาสามารถแก้ไขได้

หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ วิไลจบการทำกายภาพด้วยความรู้สึกว่าตัวเธอแข็งแรงขึ้น ใช้ชีวิตด้วยความหวังที่ฟื้นคืนและมองเห็นอนาคตที่สดใส เธอยังทำมากกว่าการปล่อยให้นักกายภาพบำบัดทำทุกอย่างให้กับเธอ

เพื่อให้แน่ใจว่าเธอได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อให้เธอได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากการลงทุนทำกายภาพบำบัด เธอได้ขอท่าออกกำลังกายใหม่ๆที่ไว้ทำที่บ้าน ซึ่งเหมาะสมกับรูปร่างและเป้าหมายวิถีชีวิตของเธอ ซึ่งเธอสามาถทำได้ตามสะดวกด้วยตัวเธอเองในบ้านของเธอ เพื่อให้เธอแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และเพื่อจะช่วยป้องกันเธอจากอาการปวดหรืออาการติดขัดใดๆในอนาคต

วิไลเป็นคนมีเหตุผลพอที่จะรู้ว่าไม่มีสิ่งใดคงอยู่ตลอดไป แต่การทำเช่นนี้ได้มอบความเป็นไปได้ที่ดีที่สุดที่ทำให้เธอนั้นอยู่อย่างกระฉับกระเฉงและเคลื่อนไหวได้ดั่งใจ ณ ตอนนี้ ในตอนที่เธอยังเยาว์พอที่จะสนุกกับมัน และยังได้มอบความหวังถึงอนาคตที่เธอจะสามารถมีวิถีชีวิตแบบเดิมและอิสระที่จะเลือกทำสิ่งต่างๆได้

และเพื่อผลตอนแทนเหล่านั้น เธอยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อมัน

โอเค…

คุณรู้ว่าวิไลก็คือคุณแม่ของศิวาใช่ไหม? และทั้งหมดที่คุณเพิ่งได้อ่านนั้นเขียนมาจากเรื่องจริง ผมแค่แก้ตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยและเปลี่ยนชื่อคนบางคน และคุณรู้ไหม ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้าได้ยินคุณบอกว่าคุณเองก็เคยมีประสบการณ์เช่นเดียวกันกับที่ “ศิวา” ลังเลอย่างมากที่จะลองทำกายภาพบำบัด?

ทำไมน่ะเหรอ เพราะนี่เป็นบทสนทนาที่ผมมีมาแล้วหลายต่อหลายครั้งกับผู้ปกครองผู้เป็นกังวลหรือคู่รักที่ไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นถึงไม่ให้คุณค่ากับสุขภาพของตนเองมากเท่าพวกเขา

ตอนนี้คุณเห็นหรือยัง? สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างสองผลลัพธ์ นั่นก็เพราะวิไลได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของเธอมากกว่าที่ศิวาได้ทำ วิไลได้ลองทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยให้เธอยังคงกระฉับกระเฉง และได้เตรียมลงทุนในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของเธอ

และโอกาสที่คุณจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีจากการไปพบนักกายภาพบำบัดคนไหนก็ตาม ส่วนใหญ่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณมากแค่ไหน ถ้าคุณได้อ่านบทความมาจนถึงตรงนี้ เป็นไปได้ว่าคุณให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณอย่างมาก และการทำกายภาพบำบัดนั้นจะเหมาะสำหรับคุณ และสามารถช่วยให้คุณกระฉับกระเฉงและ “พร้อมออกไปทำกิจกรรม” ช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตด้วยอาการปวดและติดขัดน้อยลง ในช่วงวัยห้าสิบ หกสิบปี และหลังจากนั้น

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกายภาพบำบัด รวมถึงวิธีการที่จะทำให้คุณได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการทำกายภาพบำบัดแล้วล่ะก็ คุณสามารถดาวน์โหลดรายงานที่จะตอบ 45 คำถามเกี่ยวกับกายภาพบำบัดซึ่งถูกถามมามากที่สุดของเราได้ฟรีๆ คลิกที่รายงานด้านล่างเพื่อดาวน์โหลด

อ่านเพิ่ม

Get in Touch

5 Stars4.9based on 200+ Reviews