5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัด

การที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อจะกลับมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหลังการผ่าตัดนั้นเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ยากขนาดนั้น ทุกคนสามารถกลับมาแข็งแรงได้ด้วยการเข้ารับการรักษาฟื้นฟูด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะบุคคล ถ้าเช่นนั้น ปัญหาคืออะไรล่ะ?

เนื่องจากผู้คนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการรักษาฟื้นฟูก็ควรถูกออกแบบมาให้แตกต่างกันในแต่ละบุคคล และเรามักจะพบว่าหลายๆ คนไม่ค่อยตระหนักถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถคาดหวังได้จากการรักษา จึงอาจทำให้เกิดความสับสน ความไม่เข้าใจ ความไม่พอใจ และเกิดความท้อต่อการรับการรักษาได้ ดังนั้นแล้วนี่จึงเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะมาพูดกันถึงความเชื่อผิดๆ 5 ข้อ เกี่ยวกับการฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัด รวมทั้งสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดให้ได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่

1. ฉันจะตัดสินใจทำกายภาพบำบัด ก็ต่อเมื่อผ่าตัดเสร็จเท่านั้น

ถ้าเราจะว่ากันด้วยจุดเริ่มต้น ซึ่งความจริงแล้วจุดเริ่มต้นจริงๆ นั้น ไม่ใช่หลังจากการผ่าตัดสำเร็จ แต่เราต้องเริ่มตั้งแต่วินาทีแรกที่คุณได้รับการวินิจฉัยและทราบถึงอาการบาดเจ็บนั้นๆ แล้วต่างหาก โดยคุณสามารถขอคำแนะนำได้ทันทีจากนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นักกายภาพบำบัดของคุณจะทำการวางแผนเพื่อ “เตรียมพร้อมร่างกาย” ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่คุณต้องปฏิบัติก่อนเข้ารับการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และการปรับเปลี่ยนอาหารการกินหรือกิจวัตรประจำวันบางอย่างให้พร้อมสำหรับการรักษาต่อไป

กำหนดการผ่าตัดของคุณอาจยาวนานออกไปอีกหลายสัปดาห์ และนั่นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่จะสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้ ตัวอย่างการศึกษาวิจัยหนึ่งที่พบว่าการออกกำลังกายบริเวณเข่าก่อนเข้ารับการผ่าตัด สามารถช่วยลดระยะเวลาพักฟื้นได้ถึง 73% เลยทีเดียว

2. “ฉันคิดว่าจะพักก่อนสัก 2-3 สัปดาห์หลังผ่าตัดเสร็จ แล้วถึงค่อยทำกายภาพบำบัด”

ถึงแม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาการบาดเจ็บและวิธีการผ่าตัด แต่หลายๆ คนก็มักจะประเมินความพร้อมของร่างกายตัวเองต่ำเกินไปในการตัดสินใจเข้ารับการฟื้นฟู คุณอาจจะยังไม่สามารถทำอะไรได้มากกับบริเวณที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดมา แต่ก็มีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้ในระหว่างนั้น เพราะการพักที่นานเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ได้ เช่น การไหลเวียนของเลือดที่ลดลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นจะส่งผลต่อระยะเวลาการฟื้นตัวที่อาจยาวนานออกไปมากขึ้น

การเข้ารับการฟื้นฟูหลังการผ่าตัดให้เร็วที่สุด จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้

3. “การหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและการพักผ่อนคือแผนการรักษาที่ดีที่สุด”

มีเส้นบางๆ กั้นอยู่ระหว่างอาการเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบาย โดยที่ความเจ็บปวดเป็นหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกให้คุณหยุดทำสิ่งนั้นๆ ณ เวลานั้นๆ ซึ่งตัวคุณเองนั้นไม่ได้ต้องการทำให้อะไรแย่ลง แต่ในขณะเดียวกัน คุณเองก็ต้องพยายามเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น และในบางครั้งมันก็อาจจะมาพร้อมกับความรู้สึกไม่สบายขึ้นมาบ้าง

คุณอาจรู้สึกถึงความไม่สบายตัวบ้าง และอาจจำเป็นต้องหยุดบ้างขณะกำลังรับการรักษาฟื้นฟู เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทของคุณเข้าสู่ขีดจำกัดของมันในบางครั้ง แต่ความรู้สึกไม่สบายตัวเล็กๆ น้อยๆ นั้นเอง จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพความแข็งแรง การเคลื่อนไหว และความอึดของคุณในระยะยาวเมื่อเวลาผ่านไป

4. “ถึงเจ็บ แต่ยังไหว”

“ต้องเจ็บก่อน ถึงจะได้ผล” เป็นอีกความเชื่อหนึ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง คุณไม่ควรเข้ารับแผนการรักษาฟื้นฟูทั่วไปที่เพิกเฉยต่ออาการเจ็บปวดของคุณขณะได้รับการรักษา เพราะกุญแจสำคัญของการรักษาฟื้นฟูคือการรู้ว่า “เมื่อไหร่” ที่ตัวคุณจะเริ่มมีอาการเจ็บ เนื่องจากมีหลายคนที่หักโหมจนเกินไป จนเกิดอันตรายขึ้นในภายหลัง นั่นรวมไปถึงการไม่คำนึงถึงระยะพักที่เพียงพอและเหมาะสม แต่ฝืนร่างกายมากเกินขีดจำกัด ล้วนจะส่งผลให้ต้องยืดระยะเวลาการพักฟื้นร่างกายให้นานออกไปอีก

5. “ฉันทำเองได้”

นี่คือจุดที่จะบ่งชี้ถึงความแตกต่างของนักกายภาพบำบัดแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ และประสบการณ์ หรือวิธีการวางแผนการรักษาที่ในบางครั้ง ยากเกินไปสำหรับคนทั่วไปที่จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคุณโดยเฉพาะ ผู้ที่สามารถออกแบบการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพให้คุณได้โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นในภายหลัง รวมทั้งคอยควบคุมการเคลื่อนไหวของคุณให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ นักกายภาพบำบัดจะคอยติดตามอาการและความคืบหน้าของแผนการรักษาของคุณ และต้องสร้างความมั่นใจถึงเป้าหมายการรักษาที่คุณจะสามารถไปถึงได้ ผ่านการปรับรูปแบบการฟื้นฟูให้สอดคล้องและเหมาะกับคุณให้มากที่สุด

ผู้คนล้วนใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกายตัวเองได้ไม่เท่ากัน บางคนก็สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งนักกายภาพบำบัดเองก็ต้องทำความเข้าใจกับประเด็นนี้ให้ดี และต้องช่วยคุณทำความเข้าใจเรื่องระยะเวลาการรักษาด้วย โดยบางครั้งที่อาจจะต้องใช้เวลานานขึ้นนั้น ก็เพื่อป้องกันอาการอ่อนล้าและอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้ในภายหลัง

โปรแกรมการรักษาฟื้นฟูหลังเข้ารับการผ่าตัดกับ Form Physio and Rehab

กุญแจสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อการรักษาฟื้นฟูหลังการผ่าตัด คือ การทำอย่างถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา และหาจุดสมดุลระหว่างการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ และการออกกำลังกายที่เกินขีดจำกัด ดังนั้นเราจึงไม่แนะนำให้เล่นคุณกีฬาหรือกระทั่งพักผ่อนมากจนเกินไปในระหว่างการฟื้นฟู จากที่กล่าวไปข้างต้น การรักษาฟื้นฟูด้วยการออกกำลังกายจำเป็นต้องเริ่มจากระดับความหนักที่เบาก่อนเสมอ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระดับให้หนักและยากมากขึ้นตามระดับความคืบหน้าของคุณเอง

 ทีมงาน Form Physio and Rehab สามารถช่วยคุณหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ดังกล่าว และให้แนวทางการรักษาฟื้นฟูอย่างชัดเจนได้ ดังนั้น การเข้ามาพบและปรึกษากับนักกายภาพบำบัดจึงสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยหาจุดสมดุลที่เหมาะสมที่สุด และนักกายภาพบำบัดยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการกระตุ้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมและแตกต่างไปได้อย่างเฉพาะเจาะจงในแต่ละบุคคล ตามระดับความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นไปในแต่ละขั้นอย่างเหมาะสมที่สุด

ทีมนักกายภาพบำบัดของเรามีความสามารถที่จะช่วยคุณเพิ่มความแข็งแรงและสมรรรถภาพต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ผ่านแผนการฟื้นฟูโดยใช้เทคนิคการรักษาที่ทันสมัยโดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ และได้รับการรับรอง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการรักษาฟื้นฟูอย่างถูกต้องและปลอดภัย โปรดติดต่อเรา

อ่านเพิ่ม

Get in Touch

5 Stars4.9based on 200+ Reviews